แนวโน้มเศรษฐกิจและสังคม

แนวโน้มเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดสมุทรปราการ มีรายละเอียดดังนี้
Economy, Society, Natural Resources

แนวโน้ม ด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ

สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ

จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่าในปี ๒๕๕๓ จังหวัดสมุทรปราการ มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP : Gross Provincial Product) จำนวน ๖๙๘,๐๒๒  ล้านบาท ซึ่งมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ ๒ ของประเทศรองจากกรุงเทพมหานคร และมีมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดเฉลี่ยต่อคน (GPP Per Capital) จำนวน ๕๒๘,๘๙๙ บาท/ปี ซึ่งสูงเป็นอันดับ ๔ ของประเทศรองจากระยอง สมุทรสาคร และพระนครศรีอยุธยา โดยผลิตภัณฑ์จังหวัดสาขาที่มีมูลค่ามากที่สุด คือ อุตสาหกรรม (การผลิต) มีมูลค่าสูงถึง ๔๙๐,๙๙๔. ล้านบาท หรือร้อยละ ๗๐.๓๔ ของผลิตภัณฑ์จังหวัด รองลงมา ได้แก่ การขนส่ง/ คมนาคม และสถานที่เก็บสินค้า (Logistics) ร้อยละ ๑๕.๗๕ การค้าส่งค้าปลีก ร้อยละ ๔.๑๕   ส่วนภาคเกษตรกรรมมีมูลค่า    ๓,๒๕๒   ล้านบาท หรือร้อยละ ๐.๔๗ ซึ่งมูลค่าผลิตภัณฑ์ภาคเกษตรกรรม ๒๕๕๓ มีแนวโน้มลดลง จากปี ๒๕๕๒ มีมูลค่า ๕,๖๕๘ ล้านบาท และในปี ๒๕๕๓ มีมูลค่า ๓,๒๕๒ ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ ๔๒.๕๒

ตารางที่  ๔  แสดงมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสมุทรปราการ ปี ๒๕๔๘ ๒๕๕๓

สาขาการผลิต ปี ๒๕๔๙ ปี ๒๕๕๐ ปี ๒๕๕๑ ปี ๒๕๕๒ ปี ๒๕๕๓ p
ภาคเกษตรกรรม

,๘๐๕

,๕๙๔

,๐๐๘

,๖๕๘

๓,๒๕๒

๑. เกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้

๖๗๔

๗๘๕

๙๖๙

๑,๐๖๘

๑,๑๓๑

๒. การประมง

๔,๑๓๑

๓,๘๐๙

๔,๐๓๙

๔,๕๙๑

๒,๑๒๑

นอกภาคเกษตรกรรม

๕๐๗,๒๓๑

๖๑๒,๑๘๔

๖๓๗,๔๒๖

๖๐๑,๙๗๐

๖๙๔,๗๗๐

๔. อุตสาหกรรม (การผลิต)

๓๙๕,๐๑๓

๔๑๕,๙๐๒

๔๔๘,๔๘๕

๔๒๗,๖๕๘

๔๙๐,๙๙๔

๕. การไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา

๑๓,๐๒๙

๑๒,๑๙๓

๑๑,๗๓๐

๑๑,๖๙๒

๑๓,๖๘๗

๖. การก่อสร้าง

๘,๕๒๕

๑๐,๓๒๕

 ๙,๔๕๓

 ๘,๕๕๘

๘,๐๓๑

๗. การขายส่ง  การขายปลีก การซ่อมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน

๒๓,๘๐๗

๒๕,๓๑๔

๒๘,๒๔๗

๒๔,๐๒๔

๒๘,๙๖๔

๘. โรงแรม และภัตตาคาร

๘,๑๗๙

๘,๗๐๐

๙,๑๑๗

๑๑,๔๗๕

๑๓,๑๓๓

๙. การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม

๓๓,๗๕๐

๑๑๒,๗๒๑

๑๐๑,๓๖๔

 ๙๑,๓๐๘

๑๐๙,๙๔๑

๑๐. ตัวกลางทางการเงิน

 

๗,๐๘๙

๘,๓๕๗

๙,๗๔๙

๗,๑๙๓

๗,๖๙๑

๑๑. บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริการธุรกิจ

๕,๒๒๔

๕,๒๓๗

๕,๑๐๓

๕,๙๐๗

๕,๕๑๓

๑๒. การบริการราชการ และการป้องกันประเทศฯ

๒,๗๘๘

๓,๐๐๑

๓,๓๒๙

๓,๔๑๙

๕,๔๒๒

๑๓. การศึกษา

๓,๓๖๘

๓,๗๕๓

๓,๙๐๔

๓,๙๖๑

๔,๔๐๐

๑๔. การบริการด้านสุขภาพ แรงงาน และสังคมสงเคราะห์

๓,๗๘๔

๓,๙๕๙

๔,๒๐๑

๔,๙๖๕

๔,๘๕๔

๑๕. การให้บริการชุมชน สังคม และบริการส่วนบุคคลอื่น ๆ

๒,๔๘๓

๒,๕๒๘

๒,๕๔๕

๒,๖๐๖

๑,๙๙๑

๑๖. ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล

๑๘๖

๑๙๐

๑๙๕

๑๙๘

๑๙๓

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด

๕๑๒,๐๓๖

๖๑๖,๗๗๘

๖๔๒,๔๓๔

๖๐๗,๖๒๘

๖๙๘,๐๒๒

มูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อคน (บาท)

๔๐๙,๒๘๖

๔๘๕,๕๙๘

๔๙๙,๒๕๔

๔๖๘,๐๙๔

๕๒๘,๘๙๙

ประชากร (๑,๐๐๐ คน)

๑,๒๕๑

๑,๒๗๐

๑,๒๘๗

๑,๒๙๘

๑,๓๒๐

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ภาคอุตสาหกรรม

จังหวัดสมุทรปราการ เป็นจังหวัดที่มีความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่ใกล้ศูนย์กลางของประเทศและยังเป็นแหล่งวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ เป็นคลังสินค้าที่สำคัญ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ทำให้การขนส่งวัตถุดิบและสินค้าจากโรงงานอุตสาหกรรมในอำเภอต่าง ๆ มีความสะดวกและเสียค่าใช้จ่ายต่ำ จึงมีส่วนสนับสนุนให้นักลงทุนเข้ามาประกอบกิจการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก โดยจังหวัดสมุทรปราการในปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมกว่า ๖,๕๗๖ โรงงาน นับได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ยานยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องจักร/อุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์โลหะ ไฟฟ้า/ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์อาหาร แปรรูป เคมีภัณฑ์/พลาสติก เป็นต้น

การลงทุนภาคอุตสาหกรรม ขณะนี้จังหวัดสมุทรปราการมีการกำหนดเขตผังเมืองรวมครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัด  จึงมีข้อจำกัดในการขออนุญาตตั้งและขยายโรงงานได้เฉพาะบางพื้นที่และบางชนิดประเภทของโรงงาน  ดังนั้น ภาวะในเรื่องการลงทุนในปัจจุบันจึงชะลอตัว แต่การมีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะช่วยทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าซึ่งในอนาคตสิ่งที่ต้องทำคือแก้ไขปัญหาด้านการจราจรที่ยังไม่คล่องตัวในช่วงเวลาเร่งด่วน อันเป็นปัญหาเดียวกับกรุงเทพมหานคร รวมทั้งต้องเร่งรัดพัฒนาการสื่อสารโทรคมนาคม สาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา ให้มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อความต้องการและสามารถรองรับความเจริญก้าวหน้าที่จะตามมาพร้อมกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ภาคเกษตรกรรม

จังหวัดสมุทรปราการ มีพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน ๑๘๑,๓๓๕ ไร่ หรือร้อยละ ๒๘ ของพื้นที่ทั้งหมด มีครัวเรือนเกษตรกร จำนวน ๘,๑๗๐ ครัวเรือน โดยอำเภอบางบ่อ มีพื้นที่การเกษตรมากที่สุด คือ ๖๙,๘๑๐ ไร่ รองลงมาคือ อำเภอบางเสาธง บางพลี พระสมุทรเจดีย์ เมืองสมุทรปราการ และพระประแดง ตามลำดับ

ตารางที่ ๕  แสดงข้อมูลพื้นที่และครัวเรือนเกษตรกร ปี ๒๕๕๒/๕๓

อำเภอ

พื้นที่ทั้งหมด (ไร่)

พื้นที่การเกษตร (ไร่)

ครัวเรือนเกษตรกร (ครัวเรือน)

เมืองสมุทรปราการ

  ๑๑๙,๐๙๘

  ๑๔,๖๙๖

   ๕๗๙

บางบ่อ

  ๑๕๓,๑๓๐

  ๖๙,๘๑๐

   ๒,๗๓๘

บางพลี

  ๑๕๒,๔๓๐

  ๓๑,๓๑๓

   ๑,๔๗๐

พระประแดง

   ๔๕,๘๕๕

   ๒,๗๙๔

   ๗๙๗

พระสมุทรเจดีย์

   ๗๕,๒๓๖

  ๒๔,๐๐๔

   ๑,๐๒๔

บางเสาธง

  ๘๑,๘๐๘

  ๓๘,๗๑๘

   ๑,๕๖๒

รวม

๖๒๗,๕๕๗

๑๘๑,๓๓๕

๘,๑๗๐

ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ

ด้านพืช

สำหรับพื้นที่การเกษตร จำนวน ๑๘๑,๓๓๕ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุด จำนวน ๒๙,๓๘๙ ไร่ ปลูกที่อำเภอบางบ่อและบางเสาธง รองลงมาเป็นไม้ผล เช่น มะม่วง มะพร้าว กล้วย ปลูกทุกอำเภอ จำนวน ๙,๘๓๕ ไร่ ส่วนพืชผัก เช่น ผักกะเฉด ข่า ตะไคร้ ปลูกมากที่สุดอำเภอบางบ่อและบางเสาธง มีจำนวน ๓,๓๘๙ ไร่ และไม้ดอกไม้ประดับ   เช่น หมากผู้หมากเมีย หมากแดง ปลูกมากที่อำเภอพระประแดง จำนวน ๔๗๐ ไร่ เป็นข้อมูล ณ ปี ๒๕๕๒/๕๓

ด้านประมง

พื้นที่ของจังหวัดสมุทรปราการเหมาะสมต่อการทำการประมงทั้งการประมงน้ำจืดและประมงชายฝั่ง เนื่องจากจังหวัดสมุทรปราการตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา และมีบริเวณชายฝั่งยาวถึง ๔๗.๒๐ กิโลเมตรที่อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหาร ทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งยึดอาชีพการประมงเป็นอาชีพหลัก

สำหรับข้อมูลพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่สำคัญ มีทั้งหมด ๙๒,๕๕๕.๙๖ ไร่ ประกอบด้วย ประมงน้ำจืด (ปลาสลิด ปลาเบญจพรรณ)  จำนวน  ๕๘,๒๗๐.๑๖ ไร่  (คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๙๖ ของพื้นที่เพาะเลี้ยงทั้งหมด)    และประมงชายฝั่ง จำนวน ๓๔,๒๘๕.๘๐ ไร่ (คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๐๔ ของพื้นที่เพาะเลี้ยงทั้งหมด) (ข้อมูล  ณ ปี ๒๕๕๓)

ด้านปศุสัตว์

การเลี้ยงสัตว์ของจังหวัดสมุทรปราการมีไม่มากนัก เนื่องจากสภาพแวดล้อมของพื้นที่ โดยทั่วไปไม่เหมาะสม สัตว์ใหญ่ที่มีการเลี้ยงมากที่สุด ได้แก่ โคเนื้อ จำนวน ๑,๒๖๑ ตัว แพะ จำนวน ๑,๒๐๑ ตัว สำหรับสัตว์ปีกที่มีการเลี้ยงมากที่สุด คือ ไก่พื้นบ้าน จำนวน ๔๔,๗๗๕ ตัว รองลงมาคือ เป็ดไข่ จำนวน ๑๘,๙๐๘ ตัว เป็ดเนื้อ จำนวน ๘,๘๘๕ ตัว  และไก่เนื้อ จำนวน ๗,๐๕๐ ตัว (ข้อมูล ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๓)