ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของจังหวัดสมุทรปราการ มีรายละเอียดตังนี้
Natural Resources and Environment

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย สภาพ สมรรถนะ โครงสร้างการใช้และคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ดิน น้ำ ป่าไม้ แร่ธาตุ อากาศ แหล่งท่องเที่ยว)  เนื่องจากจังหวัดสมุทรปราการ เป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลเขตติดต่อกับกรุงเทพมหานคร เป็นจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก ซึ่งข้อมูล ณ เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2550 พบว่าจังหวัดสมุทรปราการมีโรงงานอุตสาหกรรม 6,136 แห่ง มีประชากรอพยพมาพักอาศัยอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ ทั้งที่ย้ายทะเบียนบ้านและไม่ย้ายทะเบียนบ้าน (ประชากรแฝง) เกือบทุกจังหวัดทั่วประเทศ กอปรกับเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจังหวัดสมุทรปราการได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว รวมทั้งยังเป็นที่ตั้งของสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของจังหวัดสมุทรปราการในวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของจังหวัดสมุทรปราการสามารถสามารถแยกได้ดังนี้

ทรัพยากรน้ำ

ลักษณะทางกายภาพของจังหวัดสมุทรปราการ เป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล มีระดับความสูงของผิวดินจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง +0.50 ถึง +1.50 เมตร รทก. แหล่งน้ำสำคัญของจังหวัดมี 2 แหล่ง ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาและคลองระบายน้ำในพื้นที่ ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่เป็นแหล่งน้ำสำหรับเกษตรกรรม  การประมงและเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำแล้ว ยังทำหน้าที่ในการรองรับน้ำเหนือในฤดูฝนเพื่อระบายลงสู่ทะเลอ่าวไทย ซึ่งมีแหล่งน้ำที่สำคัญดังนี้
1. แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านเขตจังหวัดสมุทรปราการ มีแนวการไหลจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ ต่อเนื่องจากเขตกรุงเทพมหานคร โดยไหลผ่านอำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอเมืองสมุทรปราการ ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร แม้ว่าแม่น้ำเจ้าพระยาจะเป็นแหล่งน้ำที่หล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตรในภาคกลาง แต่เนื่องจากแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดสมุทรปราการ มีคุณภาพน้ำลดลงรวมทั้งได้รับอิทธิพลจากความเค็มของน้ำทะเล ประกอบกับเขตพื้นที่ที่แม่น้ำไหลผ่านมีการทำการเกษตรเพียงส่วนน้อยในเขตอำเภอพระประแดง ดังนั้น การใช้ประโยชน์จากแม่น้ำเจ้าพระยาจึงมีเฉพาะ ด้านการระบายน้ำ และการคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก
2. คลองระบายน้ำ เป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ใช้ในการบริหารจัดการด้านการชลประทานของจังหวัดสมุทรปราการ เนื่องจากจังหวัดสมุทรปราการมีระบบคลองในพื้นที่เชื่อมโยงกันเป็นจำนวนมาก คลองบางสาย เช่น คลองประเวศบุรีรมย์ คลองสำโรง คลองด่าน ถูกขุดขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา ปัจจุบันพื้นที่การเกษตรในจังหวัดสมุทรปราการได้รับน้ำต้นทุนจากคลองสายต่าง ๆ ซึ่งได้รับปริมาณน้ำจากแหล่งน้ำในจังหวัดพื้นที่ตอนบนอีกทอดหนึ่ง ทำให้ในฤดูแล้งประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยไม่สามารถกำหนดปริมาณน้ำได้ตามระยะเวลา
d
ลำดับ ชื่อคลอง ประเภท

คลอง

ขนาดคลอง ปริมาณน้ำ

เก็บกักสูงสุด

(ลบ.ม.)

หน่วย

งาน

ความยาว

(กม.)

ท้องคลอง

เฉลี่ย(ม.)

ตลิ่งกว้าง

เฉลี่ย(ม.)

ความลึก

เฉลี่ย(ม.)

1 คลองด่าน ชป. 9.000 25 60 3.50 1,338,750 ชป.
2 บางปลา ชป. 10.850 16 40 3.20 972,160 ชป.
3 เจริญราษฎร์ ชป. 10.480 12 30 3.00 660,240 ชป.
4 ชายทะเล ชป. 30.000 15 40 3.20 2,640,000 ชป.
5 จระเข้ใหญ่ ชป. 17.145 16 40 3.00 1,440,180 ชป.
6 ลาดบัว – บางพลี ชป. 14.550 8 30 3.00 829,350 ชป.
7 เสาธง – เพชรพิชัย ชป. 16.000 12 30 3.00 1,008,000 ชป.
8 สำโรง ชป. 38.150 16 45 3.20 3,723,440 ชป.
9 บางโฉลง ชป. 13.100 16 40 3.00 1,100,400 ชป.
10 กันยา ชป. 6.000 4 25 3.00 261,000 ชป.
11 ประเวศบุรีรมย์ ชป. 11.000 16 40 3.00 924,000 ชป.
12 บ้านระกาศ ชป. 6.500 12 30 3.00 409,500 ชป.
13 ชวดพร้าว ชป. 5.000 12 30 3.00 315,000 ชป.
14 เปร็ง ชป. 7.000 12 30 3.00 441,000 ชป.
15 พระองค์ไชยานุชิต ชป. 14.500 25 50 3.50 1,903,125 ชป.
16 สุวรรณภูมิ ชป. 10.120 48 75 3.50 2,000,000 ชป.
17 บางคลี่ ธรรมชาติ 11.760 4 25 2.50 426,300 อปท.
18 ปั้นหยา – บางเพรียง ธรรมชาติ 8.220 4 25 2.50 297,975 อปท.
19 โก่งประทุน ธรรมชาติ 4.670 4 20 2.50 140,100 อปท.
20 บางปลาร้า ธรรมชาติ 12.580 4 20 2.50 377,400 อปท.
21 บางปู ธรรมชาติ 2.500 4 20 2.50 75,000 อปท.
22 มหาชื้น ธรรมชาติ 4.615 4 20 2.50 138,450 อปท.
23 ลาดหวาย ธรรมชาติ 10.430 6 25 2.50 404,163 อปท.
24 สกัดยี่สิบห้า ธรรมชาติ 3.230 4 15 2.50 76,713 อปท.
25 สกัดห้าสิบ ธรรมชาติ 4.300 4 15 2.50 102,125 อปท.
26 หัวเกลือ ธรรมชาติ 6.190 4 20 2.50 185,700 อปท.
27 อ้อมคลองด่าน ธรรมชาติ 1.100 20 50 3.20 123,200 อปท.
28 หกส่วน ธรรมชาติ 4.450 4 18 2.50 122,375 อปท.
29 ทับนาง – ตำหรุ ธรรมชาติ 11.300 4 18 2.50 310,750 อปท.
30 ควาย ธรรมชาติ 3.100 6 25 2.50 120,125 อปท.
31 หนองคา ธรรมชาติ 2.800 4 18 2.50 77,000 อปท.
32 หนึ่งบางปลา ธรรมชาติ 6.000 4 18 2.50 165,000 อปท.
33 สองบางปลา ธรรมชาติ 6.000 4 18 2.50 165,000 อปท.
34 สามบางปลา ธรรมชาติ 6.000 4 18 2.50 165,000 อปท.
35 สี่บางปลา ธรรมชาติ 9.500 5 20 2.50 296,875 อปท.
36 ห้าบางปลา ธรรมชาติ 9.500 5 20 2.50 296,875 อปท.
37 หกบางปลา ธรรมชาติ 9.500 4 15 2.50 225,625 อปท.
38 เจ็ดบางปลา ธรรมชาติ 8.500 4 20 2.50 255,000 อปท.
39 แปดบางปลา ธรรมชาติ 7.800 4 15 2.50 185,250 อปท.
40 เก้าบางปลา ธรรมชาติ 7.500 5 20 2.50 234,375 อปท.
41 บางน้ำจืด ธรรมชาติ 11.200 12 30 2.50 588,000 อปท.
42 มอญ (จรเข้น้อย) ธรรมชาติ 5.150 5 25 2.50 193,125 อปท.
43 กาหลง ธรรมชาติ 7.240 5 20 2.50 226,250 อปท.
44 ชวดงูเห่า ธรรมชาติ 6.800 4 20 2.50 204,000 อปท.
45 ชวดบัว ธรรมชาติ 2.280 4 20 2.50 68,400 อปท.
46 ชวดใหญ่ ธรรมชาติ 1.600 5 25 2.50 60,000 อปท.
47 ตาปู ธรรมชาติ 5.420 4 20 2.50 162,600 อปท.
48 บางกระเทียม ธรรมชาติ 6.950 5 25 2.50 260,625 อปท.
49 บางนา ธรรมชาติ 4.250 5 25 2.50 159,375 อปท.
50 ปากน้ำ ธรรมชาติ 5.500 5 25 2.50 206,250 อปท.
51 มอญ ธรรมชาติ 5.140 4 20 2.50 154,200 อปท.
52 ลำต้นไทร ธรรมชาติ 3.520 4 20 2.50 105,600 อปท.
53 สาระหงษ์ ธรรมชาติ 4.500 4 20 2.50 135,000 อปท.
54 สนามพลี ธรรมชาติ 7.350 4 20 2.50 220,500 อปท.
55 โอ่งแตก ธรรมชาติ 4.640 4 20 2.50 139,200 อปท.
56 บางเสาธง ธรรมชาติ 3.880 4 20 2.50 116,400 อปท.
57 บางพลี ธรรมชาติ 2.540 4 20 2.50 76,200 อปท.
58 บางเซา ธรรมชาติ 9.200 4 20 2.50 276,000 อปท.
59 ช้างตายบน ธรรมชาติ 1.600 4 20 2.50 48,000 อปท.
60 ช้างตายล่าง ธรรมชาติ 3.880 5 25 2.50 145,500 อปท.
61 บางขวาง ธรรมชาติ 4.430 3 12 2.00 66,450 อปท.
62 บางลำพู ธรรมชาติ 1.400 3 12 2.00 21,000 อปท.
63 ศาลเจ้า ธรรมชาติ 1.400 3 12 2.00 21,000 อปท.
64 บางกะสีบน ธรรมชาติ 1.467 3 12 2.00 22,005 อปท.
รวม 492,277       28,608,200  
f
การบริหารจัดการน้ำ
จากลักษณะทางกายภาพของจังหวัดสมุทรปราการ สามารถแบ่งส่วนการบริหารจัดการน้ำตามลักษณะพื้นที่ได้ 3 ส่วน ประกอบด้วย

1. พื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณอำเภอพระประแดง และอำเภอ  พระสมุทรเจดีย์ จำนวน 170 ตารางกิโลเมตร หรือ 106,250 ไร่

เป็นพื้นที่ไม่มีระบบชลประทานอาศัยการเก็บกักน้ำในคลองที่รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาและน้ำทะเลซึ่งเป็นน้ำกร่อยทั้งหมด
2. พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านภายในคันกั้นน้ำพระราชดำริ บริเวณพื้นที่ปิดล้อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและแนวคันกั้นน้ำพระราชดำริ ในเขตอำเภอเมืองสมุทรปราการ และบางส่วนของอำเภอบางพลี จำนวน 210 ตารางกิโลเมตร หรือ 131,250 ไร่ เป็นพื้นที่เขตชุมชนเมืองนอกเขตชลประทาน แต่สามารถรับน้ำจากคลองชลประทานภายนอกเข้าไปใช้บริหารจัดการได้    โดยมีพื้นที่ทำการเกษตรจำนวนน้อย ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำเพื่อการระบายน้ำและรักษาระบบนิเวศน์ในเขตเมืองเป็นหลัก

3. พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านนอกแนวคันกั้นน้ำพระราชดำริ

ในเขตอำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง และบางส่วนของอำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี จำนวน 264 ตารางกิโลเมตร หรือ 390,000 ไร่ เป็นพื้นที่ในเขตชลประทานลุ่มเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก รับน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาและเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
สำหรับแนวคันกั้นน้ำพระราชดำริเป็นคันป้องกันน้ำท่วม (King dike) ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระราชทานแนวทางป้องกันอุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี 2523 และ 2526 โดยใช้แนวถนนในทิศทางเหนือ-ใต้ ตั้งแต่บริเวณจังหวัดปทุมธานี ผ่านกรุงเทพมหานคร และจรดแนวชายทะเลในเขตจังหวัดสมุทรปราการ โดยในเขตจังหวัดสมุทรปราการใช้แนวถนนกิ่งแก้วและถนนบางพลี-ตำหรุเป็นแนวคันกั้นน้ำ  ปัจจุบันพื้นที่นอกแนวคันกั้นน้ำซึ่งเป็นพื้นที่รองรับการระบายน้ำตามแนวพระราชดำริ ประกอบด้วยคลองระบายน้ำตามธรรมชาติเชื่อมโยงถึงกันจำนวน 63 สาย ปริมาณน้ำเก็บกักสูงสุดประมาณ 26.600 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยคลองทั้งหมดมีลักษณะเป็นคลองดินมีการใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการส่งน้ำ และระบายน้ำควบคู่กันไป คลองที่สำคัญได้แก่คลองประเวศบุรีรมย์  คลองพระองค์ไชยานุชิต คลองสำโรงคลองด่าน คลองลาดกระบัง คลองบางโฉลง คลองจระเข้ใหญ่ คลองบางเสาธง คลองบางปลา คลองชายทะเล คลองเจริญราษฎร์ และคลองระบายน้ำสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบ ตาม พรบ.การชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 สำหรับคลองขนาดเล็กต่างๆอยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีจำนวน 48 คลอง

ทรัพยากรดิน

ทรัพยากรดิน  ลักษณะดินโดยทั่วไปเกิดจากกระบวนการ 3 ลักษณะ
1. เกิดจากการทับถมของตะกอน น้ำทะเลบนขวากทะเล (estuarine)
2. เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำกร่อย หรือตะกอนน้ำทะเลบนที่ราบน้ำทะเลเคยท่วมถึง
3. เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำกร่อยทับตะกอนน้ำทะเลบนที่ราบน้ำทะเลเคยท่วมถึง
d
ลักษณะเนื้อดินบนและดินล่างเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทรายแห้ง ดินเป็นกรดจัดมากถึงด่างปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลางถึงสูง บางบริเวณเป็นดินเค็มและดินกรดเนื่องจากมีน้ำทะเลท่วมถึง และพบปริมาณกำมะถันหรือสารจาโรไซด์ในดินสูง ลักษณะดินที่พบในจังหวัดฯ สามารถจำแนกได้ทั้งหมด 8 ชุดดิน คือ (1) ดินชุดท่าจีน  (2) ดินชุดบางปะกง  (3) ดินชุดชะอำ (4) ดินชุดสมุทรปราการ
(5) ดินชุดสมุทรสงคราม (6) ดินชุดบางกอก (7)ดินชุดบางน้ำเปรี้ยว และ (8) ดินชุดฉะเชิงเทรา
ลักษณะทางธรณีวิทยาของจังหวัดสมุทรปราการ พบว่าตั้งอยู่บนบริเวณที่ราบลุ่มตอนกลาง หรือบางครั้งเรียกว่าบริเวณดินตอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ เกิดจากการทับถมของตะกอนหนา ระดับความสูงของพื้นที่ประมาณ 00.5-1.เมตร และมีความลาดเอียงโดยเฉลี่ยต่ำกว่า % ลักษณะของชั้นดินในช่วงบนความลึกประมาณ 1.เมตร จะเป็นดินเหนียวอ่อนตัวมีความสามารถในการอุ้มน้ำ รับน้ำหนักแรงต่ำมาก ประมาณ 0.– ตัน ต่อตารางเมตร เมื่อรับน้ำหนักจะยุบตัวได้ง่าย ถัดลงไปจะเป็นพื้นดินเหนียวซึ่งมีการรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จนถึงชั้นทรายชั้นแรกที่มีความลึประมาณ 22 25 เมตร นอกจากนั้นจังหวัดสมุทรปราการ เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่บางส่วนติดชายฝั่งทะเลสภาพแวดล้อมด้านป่าชายเลนเสื่อมโทรมไป ส่งผลกระทบให้เกิดการกัดเซาะดินบริเวณชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ติดชายฝั่งทะเล เช่น อำเภอเมือง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ ส่งผลให้แต่ละปีมีดินถูกกัดเซาะหายไปปีละประมาณ 50 เมตร
d
สถานการณ์และแนวโน้มการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและแผ่นดินทรุดตัว
จังหวัดสมุทรปราการมีความยาวของชายหาด ประมาณ 45 กม. แต่เนื่องจากพื้นที่บางบริเวณมีการสะสมตัวออกไป และเกิดกัดเซาะของน้ำทะเลเข้ามามาก ส่งผลให้เส้นชายฝั่งมีระยะทางเพิ่มขึ้นเป็น 74 กม. (กรมทรัพยากรธรณี, 2555) โดยพบว่าชายฝั่งเกิดการกัดเซาะอยู่ในพื้นที่ ต.นาเกลือ ต.แหลมฟ้าผ่า ต.บางปู และ ต.คลองด่าน มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 58,257 เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 79 ของระยะทางตามแนวชายฝั่งที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด มีพื้นที่ของแนวชายฝั่งที่มีการสะสมตัวอยู่ในพื้นที่ ต.คลองด่านและ ต.บางปูใหม่ มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 6,718 เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 9.12 ของระยะทางตามแนวชายฝั่งที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด และมีพื้นที่ของแนวชายฝั่งที่คงสภาพอยู่ในพื้นที่ ต.ท้ายบ้านและ ต.บางปูใหม่ มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 8,688 เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 11.79 ของระยะทางตามแนวชายฝั่งที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด

ทรัพยากรป่าไม้

สถานการณ์ด้านป่าไม้ของจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงปี พ.ศ. 2559 – 2561 พบว่า พื้นที่ป่าไม้ (ป่าชายเลน) จำนวน 14,300 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.43 ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2558-2560 จะเห็นได้ว่าพื้นที่ที่เป็นที่อยู่อาศัย/ปลูกพืชไร่/ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และที่รกร้างลดลง ซึ่งพื้นที่ใช้ประโยชน์นอกการเกษตร มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ ปี 2559 ซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ปี พ.ศ. เนื้อที่จังหวัด

(ไร่)

เนื้อที่ป่าไม้ การเปลี่ยนแปลง (+/-) เนื้อที่ที่ไม่ใช่ป่า
เนื้อที่ป่าไม้

(ไร่)

ร้อยละของ

พื้นที่จังหวัด

ไร่ ร้อยละ
2559 604,447.40 8,642.27 1.43 98.57
2560 604,447.40 14,866.34 2.46 +6,244.07 +72.02 97.54
2561 592,001.82 14,385.68 2.43 -480.66 -3.23 97.57

แหล่งที่มา:  สำนักจัดการที่ดิน กรมป่าไม้

ป่าชายเลน / แร่ธาตุ

จังหวัดสมุทรปราการ เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม และที่ราบลุ่มปากแม่น้ำ ดังนั้น จังหวัดสมุทรปราการ จึงมีพื้นที่ป่าชายเลน ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 12,030 ไร่ หรือร้อยละ 1.92 ของพื้นที่จังหวัด แต่พื้นที่ป่าชายเลนบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยามีการบุกรุกทำลาย รวมทั้งน้ำสกัดเซาะชายฝั่ง ทำให้พื้นที่ป่าชายเลนของจังหวัดสมุทรปราการมีเนื้อที่น้อยทุกปี ส่งผลกระทบต่อการกัดเซาะที่ดินบริเวณชายฝั่งทะเลและการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ
    

 สำหรับทรัพยากรธรณีจำพวกแร่ธาตุ น้ำมัน หรือ ก๊าซ ธรรมชาติ จังหวัดสมุทรปราการไม่พบทรัพยากรธรณีดัง
กล่าว