ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) จังหวัดสมุทรปราการ ครั้งที่ 35/2564 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ

ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) จังหวัดสมุทรปราการ ครั้งที่ 35/2564 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ

ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) จังหวัดสมุทรปราการ ครั้งที่ 35/2564 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 น.
นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) จังหวัดสมุทรปราการ ครั้งที่ 35/2564 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ โดยมี นายชัยพจน์ จรูญพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ นายเจนเจตน์ เจนนาวิน ปลัดจังหวัดสมุทรปราการ และคณะกรรมการฯ เข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียง

ที่ประชุมได้รับทราบสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดสมุทรปราการ การจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม การจัดตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ หรือจุดสกัด การเดินทางออกนอกเขตพื้นที่ และเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) การจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม / ศูนย์กักตัวเพื่อสังเกตอาการณ์ (Quarantine) และศูนย์พักคอยรอการส่งตัวผู้ป่วย (Community Isolation) ในพื้นจังหวัดสมุทรปราการ ผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วย หน่วยควบคุมรักษาความสงบเรียบร้อยและบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดสมุทรปราการ หน่วยปฏิบัติด้านการแพทย์ การจัดชุดปฏิบัติการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนามและการรับส่งผู้ป่วยตามแนวทางที่จังหวัดสมุทรปราการกำหนด หน่วยควบคุมสินค้าและบังคับใช้กฎหมายการตรวจสอบควบคุมดูแลผู้ประกอบการ ช่วยเหลือภาคธุรกิจดูแลและเยียวยาผู้ประกอบการในสถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หน่วยช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบภาคประชาชน ดูแล เยียวยาแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง การลงทะเบียนแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ และการตรวจเชิงรุกในสถานประกอบการ และการกำหนดมาตรการของผู้ต้องขังในเรือนจำ หน่วยสนับสนุนภาคพื้นด้านการขนส่งและขนย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนาม หน่วยประสานงานทั่วไประหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม พลเรือน ตำรวจ ทหาร และการจัดชุดรักษาความปลอดภัยในโรงพยาบาลสนามสมุทรปราการรวมใจ 5 หน่วยรับบริจาคสิ่งของและงบประมาณเพื่อสนับสนุนการปฎิบัติงานและการช่วยเหลือรวมทั้งลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ การขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากเงินทดลองราชการในเชิงป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ศูนย์ข้อมูลประชาสัมพันธ์ร่วม คณะที่ปรึกษาในการให้คำแนะนำในการปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่สนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่และร่วมขับเคลื่อนศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดสมุทรปราการ
ในการนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการได้มีข้อเน้นย้ำ ข้อสั่งการในประเด็นการบริหารจัดการและประชาสัมพันธ์ ดังนี้
1. มาตรการป้องกันควบคุมโรค
ขอให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้บูรณาการประสานความร่วมมือให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรค ดังนี้
1.1 เร่งรัดการฉีดวัคซีนให้ได้ร้อยละ 50 ของทุกกลุ่มเป้าหมาย สำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ ให้ได้ร้อยละ 80 ให้ครบถ้วน ทันเวลา
1.2 สำหรับการฉีดวัคซีนเด็กนักเรียน ให้เน้นการเฝ้าระวังอาการที่ไม่พึงประสงค์ หากมีอาการสงสัย กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ใจสั่น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
1.3 ให้ดำเนินการติดตามมาตรการองค์กร มาตรการสาธารณสุขและมาตรการด้านสังคม โดยเฉพาะกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 เช่น งานบุญ งานเลี้ยงสังสรรค์
งานประเพณีต่าง ๆ ควรงดรับประทานอาหารร่วมกัน เพื่อลดการสัมผัส
1.4 ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคในสถานประกอบการ(Bubble & Seal) แคมปัคนงานก่อสราง ตลาด ที่พักอาศัยของแรงงาน และโรงเรียน ให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
2. การรณรงค์ประชาสัมพันธ์
ให้ประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรปราการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน โดยใช้มาตรการ DMHTTA อย่างเข้มข้น คือ
เว้นระยะห่างระหว่างกัน / ไม่พบปะ หรือ ไปยังสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก / การสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี / หมั่นล้างมือ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์อย่างสม่ำเสมอ / ตรวจอุณหภูมิ / ตรวจเชื้อโควิด – 19 และใช้แอปพลิเคชันไทยชนะ /หมอชนะ อย่างเคร่งครัด รวมทั้งใช้กลไกในระดับพื้นที่แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ครบถ้วน ผ่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้านผู้นำชุมชน หอกระจายข่าว เสียงตามสายหรือสื่อออนไลน์ต่าง ๆ