ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดสมุทรปราการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ 2/2565

ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดสมุทรปราการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ 2/2565

ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดสมุทรปราการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ 2/2565

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00 น.
นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดสมุทรปราการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ 2/2565 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ โดยมี นายศุภมิตร ชิณศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ นายชัยพจน์ จรูญพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ นายเจนเจตน์ เจนนาวิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ นายประทีป นทีทวีวัฒน์ ปลัดจังหวัดสมุทรปราการ นายภูธนะ ชมภูมิ่ง หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และนายอำเภอ เข้าร่วมการประชุมโดยพร้อมเพรียง
ที่ประชุมได้รับทราบกรณีหัวหน้าส่วนราชการที่ย้ายมาดำรงตำแหน่ง ดังนี้
1. นายชวลิต ทรงกิตติ ตำแหน่ง นายอำเภอเมืองสมุทรปราการ
2. นายธรรมนูญ แจ่มใส ตำแหน่ง นายอำเภอพระประแดง
3. นายวัฒนา เจริญจิตร ตำแหน่ง นายอำเภอบางบ่อ
4. นายขจิตเวช แก้วน้อย ตำแหน่ง นายอำเภอพระสมุทรเจดีย์
5. นายพัฒนชาต ชุมทอง ตำแหน่ง สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ
ที่ประชุมได้มีการหารือและรับทราบสถานการณ์ และมาตรการ โรคระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ / สถานการณ์ความมั่นคงจังหวัดสมุทรปราการ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565/ ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของจังหวัดประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565 / ผลการดำเนินงานป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดสมุทรปราการ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565 / สาธารณภัยของจังหวัดสมุทรปราการ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565 / การดำเนินการตามนโยบายบริหารจัดการน้ำของจังหวัดสมุทรปราการ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565 / ผลการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาผักตบชวาของจังหวัดสมุทรปราการ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565 และผลการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสมุทรปราการประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
ในการนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการได้มีข้อเน้นย้ำ ข้อสั่งการในประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด – 19
1.1 รณรงค์ขอความร่วมมือประชาชนปฏิบัติตามมาตรการ VUCA ได้แก่ V=Vaccine ฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสการป่วยหนักและเสียชีวิต U=Universal Prevention คือ การป้องกันตัวเองตลอดเวลา ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย 100% เว้นระยะห่าง และหมั่นล้างมือด้วยน้ำสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ล้างมือสม่ำเสมอ C-Covid Free Setting คือ ร้านค้าและสถานประกอบการต้องมีการจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการ จัดให้มีการเว้น
ระยะห่าง ผู้ให้บริการต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ และมีการตรวจ ATK ทุกสัปดาห์ และ A=ATK โดยรณรงค์ให้มีการตรวจวัดอุณหภูมิ ตรวจเชื้อโรคโควิด – 19 โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการน่าสงสัยและมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่สงสัยติดเชื้อ หรือเดินทางไปยังพื้นที่กลุ่มเสี่ยง ให้รีบพบแพทย์และแจ้งข้อมูลทันที ใช้แอปพลิเคชันหมอชนะ/ไทยชนะ ทุกกลไกในระดับพื้นที่ ทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน หอกระจายข่าว และเสียงตามสายในพื้นที่
1.2 ห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค
1.3 มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงาน
1.4 การเร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อป้องกันโควิด – 19
2. การเตรียมการรับมือภัยแล้ง ปี พ.ศ. 2565
เพื่อให้การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี พ.ศ. 2565 เป็นปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงขอกำชับให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสมุทรปราการ ดำเนินการ ดังนี้
2.1 เฝ้าระวัง ติดตามข้อมูลสภาพอากาศ ปริมาณฝนที่ตกและปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงวางแผนการบริหารจัดการน้ำ โดยกำหนดแนวทางการใช้น้ำในลักษณะต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ในพื้นที่ โดยให้ความสำคัญ
2.2 ทบทวนและจัดทำแผนเผชิญเหตุภัยแล้งของจังหวัดกับการนำข้อมูลผลการสำรวจพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำของจังหวัดบทเรียนจากการปฏิบัติงาน ปัญหาอุปสรรคจากปีที่ผ่านมาประกอบการวางแผนบูรณาการและแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.3 สำรวจพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมซนที่เคยเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นประจำ รวมไปถึงพื้นที่อื่น ๆ ที่มีปริมาณฝนตกน้อยจนไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ และให้ประสานโครงการชลประทาน การประปา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้งนี้
3. การป้องกันอุบัติเหตุบนทางข้าม หรือทางม้าลาย
เพื่อสร้างกระแสการรับรู้ และสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยทางถนนให้เกิดขึ้นอย่างมีความรับผิดชอบของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน จึงขอเน้นย้ำส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
3.1 ดำเนินการสำรวจและปรับปรุงบริเวณทางข้ามทางม้าลายให้มีเครื่องหมายจราจรที่ชัดเจน การตีเส้นชะลอความเร็ว รวมทั้งให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เพื่อกวดขันวินัยจราจร
และดำเนินคดีกับผู้ฝ่าฝืนกฎหมายให้ได้รับโทษสูงสุด
3.2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วในเขตชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาล