นายเจนเจตน์ เจนนาวิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานย่อยด้านการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมคลองสำโรง

นายเจนเจตน์ เจนนาวิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานย่อยด้านการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมคลองสำโรง

นายเจนเจตน์ เจนนาวิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานย่อยด้านการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมคลองสำโรง

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 เวลา 09.30 น. ภายใต้การอำนวยการของ นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ โดย นายเจนเจตน์ เจนนาวิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานย่อยด้านการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมคลองสำโรง ภายใต้คณะทำงานบริหารจัดการโครงการพัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูคลองสำโรง แบบบูรณาการ ณ ห้องประชุมชั้น 4 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ โดยมีคณะทำงานฯ เข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียง
ที่ประชุมร่วมรับทราบแผนแม่บท Conceptual Model และ Road Map การจัดการปัญหาน้ำเสียจังหวัดสมุทรปราการ ข้อมูลพื้นฐานสภาพพื้นที่คลองสำโรง
นอกจากนี้ที่ประชุมร่วมพิจารณาแนวทางการดำเนินงานของคณะทำงานย่อยฯ ประกอบด้วย
1. จัดสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย
2. มาตรการส่งเสริม/บังคับใช้กฎหมายกับแหล่งกำเนิดมลพิษ
3.ฟื้นฟูคุณภาพน้ำ/ตรวจวัดคุณภาพน้ำ/สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ
พิจารณาแผนงาน/โครงการ โดยแบ่งออกเป็นด้านกายภาพ และด้านคุณภาพ ซึ่งฝ่ายเลขาเสนอโครงการให้เป็นแนวทางแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ อปท. ที่คลองสำโรงไหลผ่าน นำไปพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ประกอบด้วย แผนงานการจัดการน้ำเสีย แผนงานการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน และแผนงานการเกษตร แต่หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือ อปท. ใดมีโครงการที่เห็นว่าเหมาะสมนอกเหนือจากที่ฝ่ายเลขานำเสนอ ให้แจ้งแก่ที่ประชุมเพื่อให้ข้อคิดเห็น ในการนำไปประกอบการจัดทำแผนงานในการพัฒนาต่อไป
แผนปฏิบัติการจัดการปัญหาน้ำเสียจังหวัดสมุทรปราการ ด้านการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมคลองสำโรง มีดังนี้
1. กำจัดผักตบชวา
2. ดูดเลน
3. ควบคุมการระบายน้ำไหล
4. ติดตั้งระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำออนไลน์
5. ติดตั้งเครื่องเติมอากาศ
6. ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย
7. บังคับใช้กฎหมาย
8. สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ และ
9. ติดตามประเมินผล
ประธานแนะนำการดำเนินการตามแนวทางการดำเนินงานให้แบ่งการปฏิบัติงานออกเป็นไตรมาส เพื่อให้ง่ายแก่การปฏิบัติงาน โดยให้เดือนสุดท้ายของแต่ละไตรมาสเป็นการติดตามประเมินผล และให้ฝ่ายเลขาสรุปผลการประชุมเพื่อที่จะนำเสนอให้คณะทำงานชุดใหญ่พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป