จังหวัดสมุทรปราการ ขับเคลื่อนคึกคักรณรงค์โครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามแนวพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา

จังหวัดสมุทรปราการ ขับเคลื่อนคึกคักรณรงค์โครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก”  ตามแนวพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา

จังหวัดสมุทรปราการ ขับเคลื่อนคึกคักรณรงค์โครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามแนวพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา

     วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.30 น. นายศุภมิตร ชิณศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามแนวพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1/2567 โดยมีนายประทีป นทีทวีวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ นายสมศักดิ์ แก้วเสนา ปลัดจังหวัดสมุทรปราการ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารสถานศึกษา และกลุ่มองค์กรเครือข่ายการพัฒนาชุมชน เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ

ในการนี้ นางสาวพัชรา วงศ์สุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดสมุทรปราการ นำทีมเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ เข้าร่วมการประชุม

     โดยมีสาระสำคัญในการประชุม ดังนี้
1. รายงานผลการขับเคลื่อนโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และแผนการสนับสนุนเพื่อยกระดับการพัฒนาผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ประเภทผ้า ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
2. กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุกจังหวัดสมุทรปราการ 5S For BCG Model ประกอบด้วย 1) Social Media : ใช้สื่อสังคม การประชาสัมพันธ์ในการสร้างความตระหนักของการสวมใส่ผ้าไทย มีแบรนด์เนอร์เชิญชวน โดยรณรงค์ขอความร่วมมือกับ 7 ภาคีเครือข่ายสวมใส่ชุดผ้าไทย 2) Skill : พัฒนาทักษะ กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ 3) Symbol : สัญลักษณ์ ส่งเสริมการแปรรูป : การออกแบบผ้าลายอัตลักษณ์จังหวัดสมุทรปราการ โทนสีธรรมชาติ ผ้าทอและผ้ามัดย้อม ให้ส่วนราชการ ประชาชน ได้สวมใส่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด 4) Stimulate : กระตุ้น ส่งเสริมช่องทางการตลาด โดยร่วมจำหน่ายในกิจกรรมงาน Event ของจังหวัดสมุทรปราการ/ต่างจังหวัด 5) Sustainable : ความยั่งยืน เกิดความสมดุลด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยด้านสังคมเกิดการบูรณาการความร่วมมือของภาคีเครือข่าย 7 ภาคี ในการช่วยเหลือและสวมใส่ผ้าไทย สังคมอบอุ่น ด้านเศรษฐกิจโดยประชาชนมีอาชีพ มีรายได้มีงานทำ ยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น และสร้างความสมดุลของสิ่งแวดล้อมโดยการใช้สีธรรมชาติ
3. การประชาสัมพันธ์ รณรงค์การสวมใส่ผ้าไทย จังหวัดสมุทรปราการ
โดยให้มีการประชาสัมพันธ์การสวมใส่ผ้าไทยผ่านช่องทางและออฟไลน์ และออนไลน์ เป็นประจำต่อเนื่อง เผยแพร่บนเพลตฟอร์มออนไลน์ Facebook, Instagram,LINE,Tiktok และผ่านกลุ่ม Line Aplication สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย จังหวัดสมุทรปราการ
     นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ได้มีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ใช้สีธรรมชาติ และวัสดุจากธรรมชาติในกระบวนการผลิต ซึ่งกลุ่มผ้ามัดย้อมในจังหวัดสมุทรปราการ ได้ดำเนินการผลิตผ้าลายใหม่เพื่อเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดสมุทรปราการ เพิ่มเติม ได้แก่ ลายนกนางนวล และใบโพทะเล เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาลายผ้าสร้างสรรค์ของจังหวัดสมุทรปราการ ทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ส่วนราชการ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ และประชาชนทั่วไป ได้สวมใส่อย่างแพร่หลาย เป็นการอนุรักษ์การสวมใส่ผ้าไทย และสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการชุมชน
 ภาพถ่ายที่ได้นำเผยแพร่ ได้รับการอนุญาตจากบุคคลในภาพ สามารถเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ได้
สมุทรปราการ : เมืองปลาสลิด ใกล้ชิดนกนางนวล
ภาพถ่าย ข่าว : กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน
แหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรปราการ