การสาธารณสุขและสาธารณูปโภค

การสาธารณสุขและสาธารณูปโภคของจังหวัดสมุทรปราการ มีรายละเอียดดังนี้
Public Health and Public Utilities

การสาธารณสุขและสาธารณูปโภค

ปริมาณสถานบริการแยกตามประเภท

สถานบริการสาธารณสุข จำแนกตามประเภท

อำเภอ

รวม

เมือง

บางบ่อ

บางพลี

พระสมุทร -เจดีย์

พระ -ประแดง

บางเสาธง

๑.โรงพยาบาลทั่วไป (แห่ง/เตียง)

๑/๓๙๕

๑/๓๙๕

๒.โรงพยาบาลชุมชน (แห่ง/เตียง)

๑/๑๒๐

๑/๑๕๐

๑/๓๐

๑/๖๐

๑/๓๐   (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง)

๕/๓๙๐

๓.โรงพยาบาลรัฐสังกัดกระทรวงอื่นๆ (แห่ง/เตียง)

๒/๑๘๐

๑/๑๐

๑/๒๐๐

๔/๓๙๐

๔.โรงพยาบาลเอกชน (เตียง/แห่ง)

๔/๗๕๐

๑/๑๐๐

๔/๕๒๐

๑/๑๐๐

๓/๔๔๑

๑/๑๐๐

๑๔/๒,๐๑๑

๕.สถานพยาบาล (แห่ง/เตียง)

๔/๖๐

๓/๖๒

๗/๑๒๒

 ๖.คลินิกเอกชน (แห่ง)

๑๙๑

๑๓

๔๒

๑๓

๖๐

๒๕

๓๔๔

๗.คลินกสัตว์ (แห่ง)

๓๑

๔๗

๔๘.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)

หมายเหตุ  สถานีอนามัยเดิม

๑๗

๑๓

๑๖

๖๘

หมายเหตุ  ข้อมูล ณ วันที่ ๓๐  มิถุนายน ๒๕๕๔

จากข้อมูลโครงสร้างสถานบริการสาธารณสุข จะเห็นได้ว่า โครงสร้างบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ซึ่งได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรือสถานีอนามัยเดิม   มีจำนวนทั้งสิ้น ๖๘ แห่ง เมื่อเปรียบเทียบเกณฑ์ที่ส่วนกลางกำหนด รพ.สต. ๑ แห่ง ควรรับผิดชอบประชากรไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ คน ซึ่งจังหวัดสมุทรปราการ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น ๑,๑๗๔,๔๐๑ คน  ดังนั้นควรมี รพ.สต.  จำนวน ๑๑๗ แห่ง แต่ปัจจุบัน จังหวัดสมุทรปราการ มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพียง ๖๘ แห่ง 

ข้อมูลบุคลากรสาธารณสุขตามสายงานที่สำคัญ 

ตามฐานข้อมูล GIS  โรงพยาบาลภาครัฐ จำนวน ๕ แห่ง ของจังหวัดสมุทรปราการ  พบว่าจังหวัดสมุทรปราการ ยังขาดแคลนบุคลากรด้านสาธารณสุขในทุกสาขาวิชาชีพหลักในทุกสาขา

บุคลากรสาธารณสุข จำนวนที่มีจริง จำนวนที่ควรมีตามเกณฑ์ ส่วนขาด
แพทย์

๑๑๕

๒๐๓

๘๘

ทันตแพทย์

๔๓

๑๑๙

๗๖

เภสัชกร

๗๘

๑๑๐

๓๒

พยาบาล

๕๙๕

๑,๒๐๙

๖๑๔

สภาวะสุขภาพของประชาชน

ข้อมูลสถิติชีพของประชาชนจังหวัดสมุทรปราการ โดยเฉลี่ยแล้วมีอายุยืนยาวขึ้น โดยมีอายุคาดเฉลี่ยเมือแรกเกิด (Life Expectancy of birth)  คือจำนวนปีที่คาดว่าคนจะมีชีวิตอยู่นับตั้งแต่แรกเกิดจนเสียชีวิต ในปี พ.ศ.๒๕๕๓  เท่ากับ ๗๑.๖๔  เพศชายมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดคือ ๖๘.๓ ปี   เพศหญิง ๗๔.๘ ปี ซึ่งสถิติอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของประเทศ คือเพศชายอายุ ๖๘.๘ ปี และเพศหญิง อายุ  ๗๓ ปี และของโลก เพศชายอายุ ๖๗ ปี และเพศหญิง อายุ ๗๑ ปี

สาเหตุการป่วยที่สำคัญ ๕ ลำดับแรกของจังหวัดสมุทรปราการ ในปี ๒๕๕๓ ได้แก่ (๑) โรคระบบหายใจ  (๒)  โรคระบบไหลเวียนเลือด (๓) โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อและโภชนาการ (๔) โรคระบบย่อยอาหารรวมโรคช่องปาก และ (๕) โรคระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้าง

สาเหตุการตายที่สำคัญของจังหวัดสมุทรปราการ ปี ๒๕๕๓  พบว่า สาเหตุการตายที่สำคัญ ๕ ลำดับแรก ได้แก่ (๑) โรคมะเร็งทุกชนิด (๒) ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดในสมอง (๓) โรคปอดอักเสบและโรคอื่นของปอด (๔) โรคหัวใจ และ (๕) โรคเกี่ยวกับตับและตับอ่อน

สำหรับปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของจังหวัดสมุทรปราการ ๑๐ ลำดับแรก ได้แก่ (๑) โรคไข้เลือดออก (๒) โรคเอดส์ (๓) ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม (๔) ปัญหาด้านระบบบริการสุขภาพ (๕) โรคมะเร็ง ได้แก่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก (๖) ยาเสพติด/บุหรี่ (๗) โรคความดันโลหิตสูง (๘) โรคเบาหวาน (๙) อุบัติเหตุจราจร  (๑๐) ปัญหาสุขภาพจิต