การศึกษาของประชากร

การศึกษาของประชากรของจังหวัดสมุทรปราการ มีรายละเอียดดังนี้
Education

การศึกษาของประชากร

มีจำนวนโรงเรียน และนักเรียน ในปีการศึกษา ๒๕๕๑ จำแนกตามสังกัดต่าง ๆ

สังกัด

จำนวนโรงเรียน/สถานศึกษา

(แห่ง)

จำนวนนักเรียน/ นักศึกษา

(คน)

๑. กระทรวงศึกษาธิการ

๑) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต ๑

๑๗๐

๑๒๕,๒๕๔

    ๒) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต ๒

๗๑

๒๙,๐๗๘

    ๓) สำนักงานการศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสมุทรปราการ

๑๔,๓๓๓

๒. กระทรวงมหาดไทย

๑) กองการศึกษาเทศบาล

๑๐

๙,๐๔๗

รวมทั้งสิ้น

๒๕๗

๑๗๗,๗๑๒

จากข้อมูลสถานศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ จำนวนทั้งสิ้น ๒๕๗ แห่ง มีจำนวนครู/อาจารย์ จำนวนทั้งสิ้น ๖,๖๖๒ คน คิดเป็นสัดส่วนนักเรียนต่อครู/อาจารย์ ๒๗ : ๑

สำหรับเด็กก่อนวัยเรียน อายุ ๓ ปีขึ้นไป มีศูนย์เด็กเล็กที่ดูแลในเรื่องการพัฒนาการและการเรียนรู้ จำนวน ๑๖๘ แห่ง และเด็กเล็ก จำนวน ๑๑,๗๓๒ คน ส่วนการศึกษาในระดับอุดมศึกษา มีมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ จำนวน ๓ แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีสมุทรปราการ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น

๑.  ประชากรวัยเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่แตกต่างกันกล่าวคือ ผู้เรียนระดับก่อนประถมศึกษาอายุ ๓ – ๕ ปี บางส่วนยังไม่ได้รับการเตรียมความพร้อม เนื่องจากภาวะครอบครัวมีรายได้น้อยส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาไม่ค่อยบรรลุเป้าหมาย

๒.  เนื่องจากสภาวะการจ้างแรงงานในพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการย้ายแรงงานกลับภูมิลำเนาเดิม ส่งผลให้มีนักเรียนย้ายเข้าและออกในสถานศึกษาติดตาม ผู้ปกครอง ส่งผลให้การเรียนไม่ต่อเนื่อง คุณภาพการศึกษาจึงไม่ดีเท่าที่ควร

๓.  สถานภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัวที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ผู้เรียนบางส่วนมีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข และมีนักเรียนบางส่วนต้องช่วยเหลือผู้ปกครองทำงานทำให้เกิดปัญหาการขาดเรียน การซ้ำชั้น การออกกลางคัน ประสิทธิภาพการศึกษาจึงลดลง

๔.  จังหวัดสมุทรปราการเป็นเมืองอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ อันเนื่องจากมลภาวะเป็นพิษทั้งทางด้านควัน กลิ่น เสียงและมลพิษทางอากาศ ที่มีส่วนทำลายสุขภาพผู้เรียนส่งผลให้การเรียนรู้ขาดประสิทธิภาพ

๕.  การขยายตัวทางเศรษฐกิจและสภาวะสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่น พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องทำงานหนักไม่มีเวลาให้ลูกเท่าที่ควร ทำให้เกิดปัญหานักเรียนขาดการปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นคุณธรรม จริยธรรมที่สำคัญ ได้แก่ จริยธรรมด้านระเบียบวินัย  ความรับผิดชอบ ความขยัน อดทน ทำให้เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การสูบบุหรี่ มั่วสุมตามที่สาธารณะอื่นๆ การทะเลาะ วิวาท และติดยาเสพติด

๖.    สถานศึกษาในสังกัด มีครูต่อนักเรียนเฉลี่ยระดับประถมศึกษาในอัตรา ๑ : ๒๖ และระดับมัธยมศึกษา ๑ : ๒๖ ซึ่งเป็นอัตราเฉลี่ยที่สูงกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ทำให้ครูต้องทำงานหนักขึ้น ประกอบกับนโยบายการลดอัตรากำลังบุคลากรภาครัฐ และขาดงบประมาณในการจ้างครูอัตราจ้างที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง จึงทำให้ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางในการจัดการศึกษา เช่น ครูที่จบตรงสาขาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ภาษาต่างประเทศ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ส่งผลให้จัดการศึกษาได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร

๗.  สถานศึกษาในสังกัดยังมีความขาดแคลน/ความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อาคารเรียน อาคารประกอบ ส้วม สนาม/ลานกีฬา และอื่นๆ ที่จะรองรับการขยายตัวของนักเรียน/ชุมชน  ที่มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา