การคมนาคมขนส่ง

การคมนาคมขนส่งของจังหวัดสมุทรปราการ มีรายละเอียดดังนี้
Transport and Transportation

การคมนาคมและการขนส่ง

การคมนาคมทางบก

(๑)     ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท)

(๒)     ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ (ถนนบางนา – ตราด)

(๓)     ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๓ (ถนนสุขสวัสดิ์)

(๔)     ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๐๔ (ถนนเพชรหึงส์)

(๕)     ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑๓ (ถนนปู่เจ้าสมิงพราย)

(๖)     ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑๖ (ถนนแพรกษา)

(๗)     ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑๗ (ถนนปานวิถี)

(๘)     ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๔๓ (ถนนแหลมฟ้าผ่า)

(๙)     ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๔๔ (ถนนศรีนครินทร์)

(๑๐)   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕๖ (ถนนกิ่งแก้ว)

(๑๑)   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๖๘ (ถนนเทพารักษ์)

(๑๒)   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๑๓ (ถนนเลี่ยงเมืองบางบ่อ)

(๑๓)   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๗๐๑ (ทางบริการพิเศษสายมอเตอร์เวย์ด้านซ้ายทาง)

(๑๔)   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๗๐๒ (ทางบริการพิเศษสายมอเตอร์เวย์ด้านขวาทาง)

(๑๕)   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๙๐๑ (ทางบริการถนนกาญจนาภิเษกด้านซ้ายทาง)

(๑๖)   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๙๐๒(ทางบริการถนนกาญจนาภิเษกด้านขวาทาง)

นอกจากทางหลวงแผ่นดิน ๑๓ สายแล้ว ยังมีทางหลวงพิเศษสายมอเตอร์เวย์ และทางด่วนเชื่อมต่อสายบางพลีสุขสวัสดิ์ (ถนนกาญจนาภิเษก) ทางพิเศษบูรพาวิถี ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม ทางหลวงชนบทรวมทั้งที่ถ่ายโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว จำนวนทั้งสิ้น ๘๒ สายทาง และได้มีการก่อสร้างสะพานแขวนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน ๒ แห่ง คือ สะพานกาญจนาภิเษก และสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม

การคมนาคมทางน้ำ จังหวัดสมุทรปราการมีท่าเทียบเรือที่สำคัญดังนี้

(๑) ท่าเรือวิบูลย์ศรี ตั้งอยู่ที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ

(๒)  ท่าเรือพระประแดง ตั้งอยู่ที่หน้าที่ว่าการอำเภอพระประแดง

(๓) ท่าเรือคลองด่าน ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ

(๔)  ท่าห้องเย็น ตั้งอยู่ที่ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ

(๕)   ท่าสะพานปลา ตั้งอยู่ที่ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ

(๖)  ท่าเรือข้ามฟากเภตรา เป็นแพขนานยนต์ ใช้บรรทุกยานพาหนะข้ามฟากระหว่างอำเภอพระประแดงฝั่งตะวันตกและตะวันออก

(๗)  ท่าเรืออายิโนะโมะโต๊ะ อยู่ในเขตอำเภอพระประแดง ใช้บรรทุกยานพาหนะข้ามฟากไปยังบริเวณท่าเรือข้ามฟากเภตรา

การคมนาคมทางอากาศ

ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ (Suwanabhumi Airport) ตั้งอยู่ที่ถนนบางนา-ตราด ประมาณกิโลเมตรที่ ๑๕ ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี  จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากใจกลางกรุงเทพมหานคร ๒๕ กิโลเมตร เปิดใช้งานวันที่   ๒๘   กันยายน   ๒๕๔๙     นับเป็นท่าอากาศยานที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุด

(เนื้อที่ ๒๐,๐๐๐ ไร่) ซึ่งมีการประมาณการว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ จะมีปริมาณผู้โดยสารสูงถึง ๕๘ ล้านคนต่อปี รองรับเที่ยวบิน ๗๖ เที่ยวบินต่อชั่วโมง และรองรับการขนส่งสินค้าทางอากาศ ๓ ล้านตันต่อปี ซึ่งทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นศูนย์กลางด้านการบินของภูมิภาค โดยสนามบินสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการบินและประตูสู่เอเชีย ให้บริการ ๑๐๒ สายการบิน สู่ ๑๔๒ เมืองทั่วโลก